การตรวจบ้าน ตรวจคอนโดหลังแผ่นดินไหว ที่ผู้ดูแลโครงการควรรู้

ผู้ชายใช้ระบบแจ้งซ่อมหลังจากเหตุแผ่นดินไหวบ้านร้าว

Written by fastweb

June 21, 2025

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศเมียนมาขนาด 7.4 ริกเตอร์ ส่งผลให้กรุงเทพฯ และอีกหลายจังหวัดได้รับรู้แรงสั่นสะเทือน นำมาซึ่งความรู้สึกเสียขวัญของประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผู้อยู่อาศัยในโครงการคอนโดมิเนียมและหมู่บ้านจัดสรร ที่อาจได้รับผลกระทบทั้งในด้านโครงสร้างและความเชื่อมั่นของลูกบ้าน นั่นจึงเป็นช่วงเวลาสำคัญที่ผู้บริหารโครงการอสังหาริมทรัพย์ ต้องรีบออกมาตรวจสอบความเสียหาย และรีบแก้ไขอย่างเร่งด่วน

เพื่อให้ผู้พัฒนาโครงการและผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์สามารถประเมินความเสียหายเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง พร้อมวางแผนจัดการซ่อมแซมและติดตามได้อย่างรวดเร็วและเป็นระบบ เรามีรายการตรวจสอบบ้านและตรวจคอนโดหลังแผ่นดินไหวมาแนะนำกัน

รายการหลักสำหรับตรวจสอบบ้านหรือตรวจคอนโดหลังแผ่นดินไหว

หลังจากเกิดแผ่นดินไหว สิ่งสำคัญที่ผู้บริหารงานโครงการต้องทำคือ ให้ทีมวิศวกรผู้มีความเชี่ยวชาญเข้ามาตรวจสอบว่ารอยร้าวผนังรวมถึงความเสียหายแบบไหนที่อันตราย หรือไม่อันตราย เพื่อประเมินสถานการณ์และวางแผนแก้ไขอย่างทันท่วงที

1. ตรวจสอบผนังและฝ้าเพดาน

หากเกิดเหตุแผ่นดินไหวบ้านร้าว มีสิ่งที่ควรให้ความสำคัญและเฝ้าระวังเป็นพิเศษ คือ

  • รอยร้าวลึกเกิน 2-3 มิลลิเมตร หรือยาวต่อเนื่องหลายเมตร ซึ่งอาจบ่งชี้ถึงปัญหาโครงสร้าง
  • รอยร้าวที่มีความกว้างเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือมีน้ำรั่วซึมออกมา
  • ฝ้าเพดานที่หลุดล่อนหรือเสียหายในพื้นที่ส่วนกลาง ซึ่งอาจส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัย

รอยร้าวที่พาดผ่านประตู หน้าต่าง หรือมุมห้อง โดยเฉพาะในอาคารสูง

2. ตรวจสอบโครงสร้างหลัก เช่น เสาและคาน

สัญญาณเตือนความเสียหายที่ต้องดำเนินการเร่งด่วน คือ

  • คานที่มีรอยร้าวในแนวทแยง หรือมีการแตกร้าวจนเห็นเหล็กเสริมภายใน
  • เสาที่มีลักษณะโก่งงอ ไม่ตรงแนวเดิม โดยเฉพาะในชั้นล่างของอาคาร
  • เสาหรือคานที่มีคอนกรีตระเบิดแตกจนเห็นเหล็กเสริมด้านใน
  • จุดเชื่อมต่อระหว่างเสากับคานที่มีรอยร้าวชัดเจน

3. ตรวจสอบพื้นและบันได

สำหรับบริเวณพื้นและบันไดมีส่วนที่ต้องทำการตรวจสอบอย่างถี่ถ้วน คือ

  • พื้นที่มีการแอ่นตัวผิดปกติ หรือเห็นเหล็กเสริมโผล่ออกมา โดยเฉพาะในพื้นที่ส่วนกลาง
  • รอยร้าวขนาดใหญ่ตรงมุมต่อจากผนัง ซึ่งอาจแสดงถึงการแยกตัวของโครงสร้าง
  • พื้นหรือบันไดที่มีการทรุดตัว หรือเอียงผิดปกติ

4. ตรวจสอบระบบสาธารณูปโภค

ในส่วนของระบบสาธารณูปโภค แบ่งสิ่งที่ต้องทำการตรวจสอบออกเป็น ดังนี้

ระบบไฟฟ้า

  • ระบบไฟฟ้าส่องสว่างมีอาการกะพริบ หรือเบรกเกอร์ตัดบ่อยผิดปกติ
  • มีกลิ่นไหม้จากอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือสายไฟในพื้นที่ส่วนกลางหรือห้องพัก

ระบบประปา

  • มีน้ำรั่วซึมจากผนัง พื้น หรือเพดาน ซึ่งอาจบ่งชี้ถึงท่อแตกใต้พื้นหรือภายในผนัง
  • ระบบประปามีการทำงานผิดปกติ น้ำไหลไม่สม่ำเสมอ หรือแรงดันน้ำเปลี่ยนแปล

ระบบระบายน้ำ

  • น้ำไหลย้อนกลับหรือท่ออุดตัน

ความเสียหายเหล่านี้ส่งผลต่อการอยู่อาศัยโดยตรง และควรมีแผนตรวจสอบ-ซ่อมแซมในระดับโครงการ

ผู้ชายตรวจสอบรอยร้าวผนังว่าอันตรายหรือไม่

แนวทางการบริหารจัดการหลังการตรวจสอบ

สำหรับผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ หากต้องการสร้างความเชื่อมั่นแก่ลูกบ้าน และดูแลโครงการอย่างมืออาชีพ หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว และให้วิศวกรเข้าทำการตรวจสอบบ้านและคอนโดมิเนียมแล้ว ควรดำเนินการดังนี้

  • จัดเก็บหลักฐาน บันทึกภาพถ่ายและวิดีโอความเสียหายทุกจุด
  • ประสานงานแจ้งซ่อมแซมและแก้ไขอย่างรวดเร็ว โดยจัดลำดับความสำคัญของงานซ่อม คือ
    • งานซ่อมเร่งด่วน คือที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและโครงสร้างหลัก
    • งานระบบสาธารณูปโภคสำคัญ ที่ส่งผลต่อการอยู่อาศัย
    • งานซ่อมทั่วไป อย่างเช่น ด้านความสวยงามและงานผิว
  • สื่อสารกับลูกค้าและผู้อยู่อาศัย
    • แจ้งสถานการณ์และแผนการซ่อมแซมให้ลูกค้าทราบอย่างโปร่งใส
    • จัดช่องทางการรับแจ้งความเสียหายเพิ่มเติมจากลูกค้า
    • กำหนดระยะเวลาการซ่อมแซมที่ชัดเจนและแจ้งความคืบหน้าอย่างสม่ำเสมอ
  • ประสานงานกับหน่วยงานภายนอก
    • ติดต่อบริษัทประกันภัยเพื่อเคลมค่าเสียหาย
    • ประสานงานกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมโยธาธิการและผังเมือง หรือสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร
    • จัดหาที่พักชั่วคราวให้ลูกค้าในกรณีที่จำเป็นต้องอพยพ
  • ใช้ระบบจัดการและติดตามงานซ่อมที่มีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับงานซ่อมจำนวนมาก โดยเฉพาะในสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น เหตุแผ่นดินไหว การใช้ระบบบริหารจัดการงานซ่อมที่ทันสมัยจะช่วยให้สามารถติดตามสถานะงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่นและรวดเร็ว

สำหรับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงผู้บริหารงานโครงการคอนโดหรือหมู่บ้าน ที่ต้องการจัดการและติดตามงานซ่อมอย่างมีประสิทธิภาพ เราขอแนะนำ FASTCare ระบบ Track งานซ่อมบำรุงบ้าน คอนโดมิเนียม และอสังหาริมทรัพย์ช่วงรับประกัน ที่พัฒนาให้สามารถใช้งานได้ทั้งบนเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน รองรับทั้งระบบ iOS และ Android ใช้งานได้ทันทีผ่านสมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ต เพื่อการซ่อมบำรุงที่มีคุณภาพ และติดตามตรวจสอบได้ ขอคำปรึกษาหรือสมัครใช้บริการ ติดต่อฝ่ายขายที่เบอร์ 099-826-3928 หรือ 080-447-0066 หรืออีเมล sales@iconframework.com

ข้อมูลอ้างอิง

1. ตรวจอาคารหลัง”แผ่นดินไหว”ของวิศวกร เช็กอย่างไรว่าปลอดภัยจริง?. สืบค้นเมื่อวันที่ พฤษภาคม 2568 จาก https://www.thansettakij.com/real-estate/624288
2. เช็กรอยร้าว อาคาร-บ้าน-คอนโด หลังแผ่นดินไหว แบบไหนอันตราย. สืบค้นเมื่อวันที่ พฤษภาคม 2568 จาก https://www.thaipbs.or.th/news/content/350718